ข้อมูลทั่วไป

หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาล้อ  เดิมเป็นสำนักงานผดุงครรภ์ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๗ บ้านเขาล้อ ตำบลดอนคา  เปิดบริการประชาชนเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ โดยมีนายตี๋  พุ่มเปี่ยม เป็นผู้บริจาคที่ดินให้ จำนวน ๒ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา  เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัยชั้น ๒ และพ.ศ. ๒๕๓๘ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ประกอบด้วยอาคารสถานีอนามัย ,บ้านพักข้าราชการ ระดับ ๓-๔ ประตูรั้วตาข่ายและป้ายชื่อ ,รั้วตาข่ายลวดถัก จำนวน ๕๐ เมตร ,รั้วลวดหนาม ๑๒ เส้น จำนวน ๒๑๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙  ในปี ๒๕๕๓ ได้รับงบโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ในการต่อเติมอาคารชั้นล่าง  สร้างศาลาที่พักญาติด้วยงบเงินบำรุง และในปี ๒๕๕๔ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาล้อ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบหมู่บ้าน ๑๑ หมู่ ประชากร ชาย ๓,๖๕๙ คน หญิง ๔,๐๑๒ คน รวม ๗,๖๗๑ คน 



ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาล้อ
สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ ๑๗ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
ปีที่ก่อตั้ง : ๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.๒๕๒๐
โทรศัพท์ : o๕๖-๓๗๔๐๕๗



       ตำบลดอนคา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเของอำเภอท่าตะโก เป็นตำบลที่ใกล้ที่สุดของอำเภอท่าตะโก ซึ่งห่างประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๖,๓๓๘ ไร่ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วน สภาพถนนผ่านหมู่บ้านและถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถสัญจรไปมาได้สะดวกตลอดปี โดยมีรถส่วนตัวของตนเอง  ประชาชนจากทุกหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบสามารถเข้ามารับบริการ ได้ภายใน ๕ – นาที โดยรถยนต์ รถจักรยานยนต์  รถจักรยาน หรือเดิน การส่งต่อไปโรงพยาบาลท่าตะโก ประมาณ ๕ กิโลเมตรใช้เส้นทางท่าตะโก-หนองบัวและท่าตะโก-ไพศาลี ใช้เวลา ประมาณ ๒นาที อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังนี้

ทิศเหนือ         ติดต่อ   ตำบลสายลำโพง   ตำบลพนมรอก                                                
ทิศใต้             ติดต่อ   ตำบลทำนบ ตำบลท่าตะโก
ทิศตะวันออก    ติดต่อ  อำเภอไพศาลี                                                                       
ทิศตะวันตก      ติดต่อ  ตำบลท่าตะโก  ตำบลพนมรอก



ลักษณะทางภูมิประเทศ                                                                     

ลักษณะทางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกจะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน เนื่องจากฤดูฝนมีน้ำหลากจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าพื้นที่ของตำบลดอนคา   

ลักษณะภูมิอากาศ                                                                           
          มรสุมเขตร้อน (Tropical Zone) ประกอบ    ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน อากาศแห้ง ร้อนจัด ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม  ฤดูฝน มีปริมาณฝนตกน้อย ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน ปริมาณน้ำฝนตกสูงสุดในราวสิงหาคม ในระยะ ๕ ปีที่ผ่านมาฝนมักไม่ตกต้องตามฤดูกาล โดยส่วนใหญ่ฝนตกเนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม ได้แก่ ดีเปรสชั่น โซนร้อนและไต้ฝุ่น ฤดูหนาว ส่วนใหญ่อากาศหนาวในช่วงเวลากลางคืน ระหว่างเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์

การปกครองและประชากร
          การปกครอง
          การปกครองแบ่งเป็น    ส่วน  คือ
          ๑. การปกครองส่วนภูมิภาค  ประกอบด้วย   ๑๗  หมู่บ้าน
          ๒. การปกครองส่วนท้องถิ่น  พื้นที่ทั้งหมดปกครองโดย องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา


ประชากร

ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนประชากรแยกราย หมู่บ้าน ปี ๒๕๕๘



ด้านศาสนา                                                               
         ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวนวัดพุทธในเขตรับผิดชอบ ๓ วัด สำนักสงฆ์ ๑ แห่ง             
             ๑. วัดดอนคา     ตั้งอยู่ หมู่ที่   ๑  ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
             ๒. วัดเขาล้อ      ตั้งอยู่ หมู่ที่  ๒     ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
             ๓. วัดสระโบส์ถ  ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๓  ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
             ๔. สำนักสงฆ์บ้านเขาล้อเหนือ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
       
 นับถือศาสนาพุทธ     ร้อยละ ๙๙.๙๗
           นับถือศาสนาอื่นๆ      ร้อยละ o.๐๓


 ด้านสังคม
เป็นชุมชนที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยกัน ในแต่ละรอบปีชาวบ้านมีการทำบุญ ตามเทศกาลต่างๆ ตามวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่การทำบุญ จะไปทำบุญที่วัดในเขตหมู่บ้าน ตำบลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงหมู่บ้านนั้นๆในบางครั้งที่เป็นกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆของหมู่บ้าน จะนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีทางศาสนา ที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน

ตารางที่ ๔ แสดงปฏิทินชุมชนในเขตรพ.สต.บ้านเขาล้อ

ด้านสาธารณูปโภค
ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน            ๑ แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ                  ๒ เครื่อง
ไฟฟ้า                                ,๙๕๑ ทุกครัวเรือน
การประปา ส่วนใหญ่ใช้ระบบประปาส่วนภูมิภาค


ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม (เฉพาะพื้นที่รับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านเขาล้อ)

การประกอบอาชีพ
          ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ ๘๕ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   อาชีพรองเป็นการประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย 
การศึกษา
          ประชากรส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา ประมาณร้อยละ ๗๐  มีสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ๓แห่งคือโรงเรียนวัดดอนคา โรงเรียนบ้านเขาล้อ เปิดสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ ๖และโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม  เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖


ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ทรัพยากรธรรมชาติ
          ตำบลดอนคา มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ ภูเขาพนมฉัตร  ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาหลายลูก  ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) หรือ ป่าผสมผลัดใบ เป็นป่าที่มีพรรณไม้เด่น ๕ ชนิด ตามความหมายของคำว่า "เบญจะคือ ห้า ได้แก่ ไม้สัก มะค่า แดง ประดู่ และชิงชัง พบป่าชนิดนี้ในบริเวณที่มีฤดูกาลแบ่งแยกชัดเจน มีช่วงแห้งแล้งยาวนานเกินกว่า ๓ เดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง ๑,๒๐๐-๑,๔๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ที่ระดับความสูงตั้งแต่ ๕๐-๘๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ต้นไม้เกือบทั้งหมดในป่าเบญจพรรณจะผลัดใบในฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงเมษายนป่าเบญจพรรณในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักเป็นไม้เด่น ขึ้นคละกับไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด อาทิ ประดู่ ชิงชัง มะค่าโมง ไผ่ไร่ ไผ่ซางดอย และไผ่หก ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สัก มีพรรณไม้เด่นชนิดอื่นขึ้นแทน เช่น สมอพิเภก เปล้าหลวง และส้าน โดยมีสังคมพืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นไผ่ ชนิดต่าง ๆ สังคมป่าเบญจพรรณมีไม้ยืนต้นกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน แสงตกถึงพื้นได้มาก มีพืชตระกูลหญ้าอยู่หลายชนิด ฤดูแล้งมักเกิดไฟป่าขึ้นช่วยเผาเศษซากใบไม้แห้งที่สะสมบนพื้นป่า อีกทั้งไฟยังช่วยกระตุ้นให้เมล็ดไม้หลายชนิดงอกงามดี โดยเฉพาะเมล็ดไม้สัก มะค่า และแดง ป่าชนิดนี้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า เพราะไม่รกทึบเกินไปและมีพืชอาหารมาก จึงดึงดูดนก แมลง และสัตว์กินพืช ต่าง ๆ เข้ามาอาศัย


สิ่งแวดล้อม

          คุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลดอนคา  ปัจจุบันประชากรในพื้นที่ทำการเกษตรที่ต้องใช้สารเคมีในปริมาณและความเข้มข้นสูง ทำให้สารเคมีต่างๆ ตกค้างและปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำ โดยเฉพาะห้วย หนอง คลอง สารเคมีเหล่านี้ทำให้คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและเคมีเปลี่ยนไป ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ เป็นการทำลายระบบนิเวศแหล่งน้ำ สัตว์น้ำลดจำนวนลงและมีแนวโน้ม     ใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้นจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน